วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิสัยทัศน์ หลักการ จุดหมายของหลักสูตร 2551

วิสัยทัศน์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลย์ทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
หลักการของหลักสูตร
1. เพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมาย มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายการพัฒนาเด็กและเยาวชน
2. การศึกษาเพื่อปวงชน เสมอภาค และมีคุณภาพ
3. สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วม
4. มีความยืดหยุ่น
5. เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
6. สำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย เทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์
จุดหมายของหลักสูตร
๑. มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและ ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนเองนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๒. มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต
๓. มีสุขภาพและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
๔. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๕. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคมและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
๑. ความสามารถในการสื่อสาร
๒. ความสามารถในการคิด
๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา
๔. ความสามารถการใช้ทักษะชีวิต
๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
๒. ซื่อสัตย์สุจริต
๓. มีวินัย
๔. ใฝ่เรียนรู้
๕. อยู่อย่างพอเพียง
๖. มุ่งมั่นในการทำงาน
๗. รักความเป็นไทย
๘. มีจิตสาธารณะ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๑. กิจกรรมแนะแนว
๒. กิจกรรมนักเรียน
๓. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
การจัดเวลาเรียน
๑. ชั้นประถมศึกษา ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียนวันละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง
๒. มัธยมศึกษาตอนต้น ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค โดยมีเวลาเรียนวันละไม่เกิน ๖ ชั่วโมง ๓. ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค โดยมีเวลาเรียนวันละไม่น้อยกว่า ๖ ชั่วโมง
(ระดับมัธยมศึกษา น้ำหนักวิชาเป็นหน่วยกิต ๔๐ ชั่วโมง/ภาคเรียนเท่ากับ ๑ หน่วยกิต )
ระดับการศึกษา แบ่งเป็น ๓ ระดับ ดังนี้
1. ระดับประถมศึกษา ป.1 – ป.6 จัดหลักสูตรรายปี
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ม.1 – ม.3 จัดหลักสูตรลักษณะหน่วยกิต สาระพื้นฐาน 63 หน่วยกิต และสาระเพิ่มเติม 18 หน่วยกิต ตลอดหลักสูตรรวม 81 หน่วยกิต
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4 – ม.6 จัดหลักสูตรลักษณะหน่วยกิต สาระพื้นฐานไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต และสาระเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 42 หน่วยกิต ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 81 หน่วยกิต
จุดเน้นการจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
การศึกษาในระดับนี้ เน้นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน สนองตอบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน แต่ละคนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ มีทักษะในการใช้วิทยาการ และเทคโนโลยี ทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ มุ่งพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน สามารถเป็นผู้นำ และผู้ให้บริการชุมชนในด้านต่างๆ
การเทียบโอนผลการเรียน
๑. ดำเนินการในช่วงก่อนเปิดภาคเรียนแรก หรือต้นภาคเรียนแรก
๒. ผู้เรียนต้องศึกษาต่อเนื่องในสถานศึกษาที่รับเทียบโอนอย่างน้อย ๑ ภาคเรียน
๓. การเทียบโอนควรกำหนดรายวิชา/จำนวนหน่วยกิตที่จะรับเทียบโอนตามความเหมาะสม
๔. การพิจารณาการเทียบโอน ให้ดำเนินการ ดังนี้
- พิจารณาจากหลักฐานการศึกษา และเอกสารอื่น ๆ
- พิจารณาจากความรู้ ความสามารถของผู้เรียนโดยการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
- พิจารณาจากความสามารถและการปฏิบัติในสภาพจริง
หลักการจัดการเรียนรู้
๑. ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
๒. ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองตามศักยภาพ
๓. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและการพัฒนาของสมอง
๔. เน้นความรู้และคุณธรรม
กระบวนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่
- กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ
- กระบวนการคิด
- กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา
- กระบวนการปฏิบัติจริง
- กระบวนการกลุ่ม
- กระบวนการวิจัย
สื่อการเรียนรู้
๑. จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ ศูนย์สื่อ ระบบสารสนเทศทั้งใน
สถานศึกษาและชุมชน
๒. จัดทำและจัดหาสื่อโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น
๓. เลือกสื่อที่มีคุณภาพ เหมาะสมและหลากหลาย
๔. มีการประเมินสื่อที่เลือกใช้อย่างเป็นระบบ
๕. ศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาสื่อ
๖. ประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพการใช้สื่ออย่างเป็นระยะ

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษา
1. การตัดสินผลการเรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดหลักเกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อตัดสินผลการเรียนของผู้เรียน ดังนี้
1.1 ตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิช ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้นๆ
1.2 ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัดและผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
1.3 ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา
1.4 ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินในระดับผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศกษากำหนดในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2. การให้ระดับผลการเรียน
2.1 การตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียนรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้ใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียนเป็น 8 ระดับ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานใช้ระบบผ่านและไม่ผ่าน โดยกำหนดเกณฑ์การตัดสินผ่านแต่ละวิชาที่ร้อยละ 50 จากนั้นจึงให้ระดับผลการเรียนที่ผ่านสำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียนเป็น 8 ระดับซึ่มีแนวการให้ระดับผลการเรียนดังนี้
ระดับผลการเรียน 4 หมายถึง ดีเยี่ยม ช่วงคะแนน 80 - 100
ระดับผลการเรียน 3.5 หมายถึง ดีมาก ช่วงคะแนน 75 - 79
ระดับผลการเรียน 3 หมายถึง ดี ช่วงคะแนน 70 - 74
ระดับผลการเรียน 2.5 หมายถึง ค่อนข้างดี ช่วงคะแนน 65 - 69
ระดับผลการเรียน 2 หมายถึง ปานกลาง ช่วงคะแนน 60 - 64
ระดับผลการเรียน 1.5 หมายถึง พอใช้ ช่วงคะแนน 55 - 59
ระดับผลการเรียน 1 หมายถึง ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ ช่วงคะแนน 50 - 54
ระดับผลการเรียน 0 หมายถึง ต่ำกว่าเกณฑ์ ช่วงคะแนน 0 - 49
ในกรณีที่ไม่สามารถให้ระดับผลการเรียนเป็น 8 ระดับได้ ให้ใช้ตัวอักษรระบุเงื่อนไขของผลการเรียน ดังนี้
"มส" หมายถึง ผู้เรียนไม่มีสิทธิ์เข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน เนื่องจากผู้เรียนมีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 ของเวลาเรียนในแต่ละรายวิชาและไม่ได้รับการผ่อนผันให้เข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน
"ร" หมายถึง รอการตัดสินและยังตัดสินผลการเรียนไม้ได้ เนื่องจากผู้เรียนไม่มีข้อมูลผลการเรียนรายวิชานั้นครบถ้วน
2.2 การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้นให้รัดับผลการประเมินเป็นผ่านและไม่ผ่าน กรณีที่ผ่านให้ระดับผลการประเมินเป็นดีเยี่ยม ดี และ ผ่าน
2.3 การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรม และผลงานของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และให้ผลการประเมินเป็นผ่านและไม่ผ่าน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมี 3 ลักษณะ คือ
- กิจกรรมแนะแนว
- กิจกรรมนักเรียน ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และนักศึกษาวิชาทหารโดยผู้เรียนเลืออย่างใดอย่างหนึ่ง 1 กิจกรรม กิจกรรมชุมนุมหรือชมรมอีก 1 กิจกรรม
- กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
ให้ใช้ตัวอักษรแสดงผลการประเมินเป็น "ผ" หรือ "มผ"
3. การเลื่อนชั้น เมื่อสิ้นปีการศึกษา ผู้เรียนจะได้รับการเลื่อนชั้น เมื่อมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
3.1 รายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม ได้รับการตัดสินผลการเรียนผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
3.2 ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินและมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
3.3 ระดับผลการเฉลี่ยในปีการศึกษานั้นควรได้ไม่ต่ำกว่า 1.00
ทั้งนี้รายวิชาใดที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน สถานศึกษาสามารถซ่อมเสริมผู้เรียนให้ได้รับการแก้ไขในภาคเรียนถัดไป
4. เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
4.1 ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า ๘๑ หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน ๔๑ หน่วยกิตและรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด
4.2 ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิต ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๗๗ หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน๔๑ หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติม ไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต
4.3 ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
4.4 ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
4.5 ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
5. เอกสารหลักฐานการศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กำหนดเอกสารหลักฐานการศึกษาที่สถานศึกษาจะต้องดำเนินการเป็น 2 ประเภท ดังนี้
5.1 เอกสารหลักฐานที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ประกอบด้วย
- ระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.๑)
- ประกาศนียบัตร (ปพ.๒)
- แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา (ปพ.๓)
5.2 เอกสารหลักฐานการศึกษาที่สถานศึกษากำหนด ประกอบด้วย
- แบบบันทึกผลการเรียนประจำรายวิชา
- แบบรายงานประจำตัวนักเรียน
- ใบรับรองผลการเรียน
- ระเบียนสะสม