ความหมายของตำรา
ตำรา หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ อาจเขียนเพื่อตอบสนองเนื้อหาทั้งหมดของรายวิชา หรือเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา หรือหลักสูตรก็ได้ โดยมีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและสะท้อนให้เห็นความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษา ในบางกรณีผู้เขียนอาจเสนอตำราในรูปของสิ่งอื่นๆ เช่น ซีดีรอม หรืออาจใช้ทั้งเอกสารและสิ่งอื่นๆ ประกอบกันตามความเหมาะสม
หรืออีกความหมายหนึ่ง
ตำรา หมายถึง เอกสารที่ใช้ในการเรียนการสอนวิชาใดวิชาหนึ่ง ที่เขียน หรือแปล หรือเรียบเรียงขึ้นอย่างครบถ้วนตามระบบสากล เพื่อใช้ศึกษาตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย
ความหมายของหนังสือ
คำว่าหนังสือ อาจเป็นหนังสือทางวิชาการหรืออาจเป็นตำราก็ได้ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นตำราเสมอไป เนื้อหาในหนังสือที่ไม่ได้นับว่าเป็นตำรา เป็นการเรียบเรียงขึ้นเพื่อให้นักวิชาการด้วยกันได้อ่าน มีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอความรู้ที่ตนได้ค้นพบมาใหม่ หรือนำเอาความรู้ที่ผู้อื่นได้ศึกษาเอาไว้ รวบรวมแล้วนำมาเรียบเรียงเสนอในลักษณะที่ทำให้เข้าใจได้ง่ายในการเรียบเรียงหนังสือ ผู้เรียบเรียงย่อมมีอิสระมากกว่าการเรียบเรียงตำรา เพราะไม่ต้องพะวงว่าจะต้องอยู่ในกรอบของหลักสูตร ไม่ได้มุ่งเน้นที่จะนำไปใช้เพื่อสนองตามหลักสูตรใดโดยเฉพาะ
การใช้หนังสือในโรงเรียนมัธยมศึกษา
หนังสือที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียนจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ หนังสือเรียน หนังสือเสริมประสบการณ์ หนังสือแบบฝึกหัด หนังสือคู่มือครู และหนังสือตำรา
ความหมายของหนังสือเรียน
หนังสือเรียน คือ หนังสือที่ใช้เป็นหลักในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง มีเนื้อหาสาระตรงตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ มีการจัด เรียงลำดับเนื้อหาอย่างมีระบบระเบียบ มีจุดมุ่งหมายสำหรับใช้สอนนักเรียนระดับใดระดับหนึ่งโดยเฉพาะ ดังนั้นการใช้ภาษาและการใช้ ถ้อยคำในหนังสือเรียนจึงต้องเหมาะสมกับวัยและระดับชั้นของผู้เรียน อาจมีลักษณะเป็นเล่ม เป็นแผ่น หรือเป็นชุดก็ได้ อาจมีชื่อเรียกต่างกัน ดังนี้ หนังสือเรียน แบบเรียน แบบสอนอ่าน หนังสืออ่าน หนังสือ ประกอบการเรียน
ความสำคัญของหนังสือเรียน
- เป็นแหล่งข้อมูล
- เป็นสื่อการเรียน
- เป็นคู่มือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- เป็นสื่อการเรียนที่กะทัดรัด
- เป็นพื้นฐานสำคัญก่อให้เกิดแรงบันดาลใจแก่นักวิชาการ
วิธีใช้หนังสือเรียน
- ครูต้องตรวจสอบพิจารณาเนื้อหา
- พิจารณาศัพท์ คำยาก วลี ประโยค
- วางแผนการใช้หนังเรียนหลายๆ ทาง
- พิจารณาใช้หนังสือเรียนให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะวิชา
- เลือกข้อความ เนื้อเรื่อง หรือความคิดเห็นดีๆ มาใช้ประโยชน์
- ใช้หนังสือเรียนควบคู่ไปกับอุปกรณ์การสอน
- ครูควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลง วิธีการใช้หนังสือเรียน
หนังสือเสริมประสบการณ์
หนังสือเสริมประสบการณ์ คือ หนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้ใช้ในโรงเรียนได้ แต่มิได้กำหนดให้เป็นหนังสือเรียน โรงเรียนควรจัดหาไว้บริการครูและนักเรียนในโรงเรียนได้ โดยคำนึงประโยชน์ดังนี้
- ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
- ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ซาบซึ้งในคุณค่าของภาษา
- เสริมสร้างทักษะและนิสัยรักการอ่าน
- เพิ่มพูนความรู้
- อ่านได้ทั้งในและนอกเวลา
หนังสือแบบฝึกหัด
หนังสือแบบฝึกหัด เป็นหนังสือประเภทที่มีคำถาม ปัญหา ทั้งแบบปรนัยและแบบอัตนัย สำหรับวิชาใดวิชาหนึ่ง ในชั้นเรียนหนึ่งๆ ตลอดทั้งเล่ม โดยไม่มีเฉลยคำตอบ ดังนั้นการใช้หนังสือแบบฝึกหัดจึงต้องใช้ควบคู่กับหนังสือเรียน
หนังสือคู่มือ
หนังสือคู่มือ เป็นหนังสือที่ช่วยในการแก้ไขข้อข้องใจเมื่อต้องการคำอธิบาย ต้องการให้เฉลยปัญหา หรือต้องการค้นหาความรู้บางอย่างให้ได้คำตอบอย่างรวดเร็ว
เกณฑ์การเลือกหนังสือ
มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
1. คุณลักษณะภายใน
2. คุณลักษณะภายนอก
3. ตัวผู้เขียน
4. พิจารณาปีที่พิมพ์
เกณฑ์การเลือกหนังสือเรียนควรพิจารณารายละเอียดดังนี้
1. มีเนื้อเรื่องครบถ้วนตรงตามหลักสูตร
2. มีความถูกต้อง เที่ยงตรงในด้านข้อเท็จจริง
3. มีเนื้อเรื่องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
4. ภาษาที่ใช้สละสลวย เหมาะกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
5. มีความคิดรวบยอดอ่านเข้าใจง่าย
6. มีการขยายความและให้ความหมายของคำศัพท์
7. กล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ๆ
8. มีการพัฒนาความคิด
9. มีกิจกรรมเสนอแนะ
10. มีส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์
11. มีวิธีเสนอแนะหนังสือชวนอ่าน เข้าใจง่าย
12. มีข้อเสนอแนะให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
13. รูปเล่มจัดเป็นบท ความยาวพอเหมาะ
14. ออกแบบปกนอกสวยงาม วางรูปแบบหนังสือถูกต้อง
15. มีภาพประกอบชัดเจน สวยงาม
16. คงทน แข็งแรง กระดาษดี
17. ผู้เขียนมีประสบการณ์ มีทัศนคติที่เป็นกลาง
18. ถ้ามีการพิมพ์หลายครั้ง ควรเลือกครั้งหลังสุด
วิธีพิจารณาเลือกหนังสือเรียน
- สำรวจความคิดเห็นของครูที่เคยใช้หนังสือเรียนนั้นๆ มาแล้ว
- ทำตารางวิเคราะห์เพื่อพิจารณาส่วนต่างๆ
หลักสูตรคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553
เปรียบเทียบหลักสูตร 44 กับ 51
หลักสูตร 44
สิ่งที่มีในหลักสูตร 44 ที่มีการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย
1. มาตรฐานช่วงชั้น
2. ให้ตัวอย่างสระการเรียนรู้
3. กำหนดเวลาเรียนรวมแต่ละปี
4. การวัดและประเมินผลสถานศึกษากำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผล
5. ตัดสินผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นรายปี
6. กำหนดระดับการศึกษาเป็น 4 ช่วงชั้น
หลักสูตร 51
สิ่งที่เพิ่มและปรับปรุงจากหลักสูตร 44 มีดังนี้
1. เพิ่มวิสัยทัศน์
2. เพิ่มสมรรถนะสำคัญ
3. ปรับปรุงคุณลักษณะอันพึงประสงค์
4. กำหนดตัวชี้วัดชั้นปี
5. กำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลาง
6. กำหนดโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำแต่ละกลุ่มสาระในแต่ละปี
7. การวัดและประเมินผลส่วนกลางกำหนดเกณฑ์การวัดปละเมินผลกลาง
8. ตัดสินผลการเรียนระดับ ม.ต้น เป็นรายภาค
9. กำหนดระดับการศึกษาเป็น ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
สิ่งที่มีในหลักสูตร 44 ที่มีการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย
1. มาตรฐานช่วงชั้น
2. ให้ตัวอย่างสระการเรียนรู้
3. กำหนดเวลาเรียนรวมแต่ละปี
4. การวัดและประเมินผลสถานศึกษากำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผล
5. ตัดสินผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นรายปี
6. กำหนดระดับการศึกษาเป็น 4 ช่วงชั้น
หลักสูตร 51
สิ่งที่เพิ่มและปรับปรุงจากหลักสูตร 44 มีดังนี้
1. เพิ่มวิสัยทัศน์
2. เพิ่มสมรรถนะสำคัญ
3. ปรับปรุงคุณลักษณะอันพึงประสงค์
4. กำหนดตัวชี้วัดชั้นปี
5. กำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลาง
6. กำหนดโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำแต่ละกลุ่มสาระในแต่ละปี
7. การวัดและประเมินผลส่วนกลางกำหนดเกณฑ์การวัดปละเมินผลกลาง
8. ตัดสินผลการเรียนระดับ ม.ต้น เป็นรายภาค
9. กำหนดระดับการศึกษาเป็น ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)