คณิตศาสตร์ศึกษา
โดย นางสมคิด สืบสนุก เลขที่ 26
จากการศึกษาเล่าเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา ทำให้รู้ว่าตัวเองในฐานะเป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์นั้นจะต้องรอบรู้ในธรรมชาติของวิชาคณิตศาสตร์ รู้การศึกษาคณิตศาสตร์ในอดีต ดูบทเรียนทั้งแง่ดีและแง่ร้าย อย่างน้อยที่สุดเป็นอุทาหรณ์ให้เกิดมุมมองเมื่อเรายืนอยู่หน้าห้องเรียน ภายใต้เงื่อนไขของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน แม้ว่าทางเลือกในการทำงาน วิธีหนึ่งคือรอให้เกิดความผิดพลาดเกิดขึ้นเพื่อรับความเจ็บปวด ผิดหวังไปปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น หรือการศึกษาบทเรียนในอดีตเพื่อเป็นข้อเตือนสติ และลดความบกพร่อง ความผิดพลาดให้น้อยลง แต่ในฐานะที่เป็นครูคณิตศาสตร์ ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะรอให้เกิดความผิดพลาดขึ้น เพราะองค์ประกอบในงานการสอนคณิตศาสตร์นั้น มีตัวเราเองและตัวผู้เรียนเป็นสิ่งทีมีชีวิตที่เมื่อสอนสิ่งที่ผิดพลาดให้แล้ว เราไม่สามารถที่จะทิ้งนักเรียนเหมือนกับสิ่งของหรือผลิตภัณฑ์จากกระบวนการผลิตที่สามารถทิ้งไปได้ การเป็นครูคณิตศาสตร์ต้อง มีความรู้ความเข้าใจ แม่นในเนื้อหา กระบวนการ ความคิดหรือหลักการที่สำคัญทางคณิตศาสตร์ นักเรียนของเราควรจะมีบทบาทอย่างไรในยุคสมัยของเขา นั่นคือสิ่งที่ครูควรจะก่อเกื้อและส่งเสริม ซึ่งอาจจะปรากฏเป็นรูปธรรมเมื่อปฏิบัติเหมือนกันหรือแตกต่างกันบ้างขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยเช่น สิ่งที่ดำรงอยู่ย่อมมีความขัดแย้ง ความขัดแย้งนำไปสู่การต่อสู้ และการต่อสู้ทางความคิดด้วยภูมิปัญญาจะทำให้เกิดการยกระดับทางความคิด ความขัดแย้งในเอกภาพหนึ่งเกิดให้เกิดการคลี่คลายขยายตัว หรือสิ่งที่วางอยู่ตรงหน้าย่อมมีมุมมองได้หลายมุม ดีเพียงพอสำหรับการใช้ประโยชน์ใด ไม่ดีต้องแก้ไขด้วยเจตนาใด พื้นฐานทั่วไป และการต่อสู้ที่แหลมคมทำให้เห็นความสำคัญของตรรกศาสตร์ แสดงถึงความจำเป็นที่จะเตรียมความรู้ในเรื่องตรรกศาสตร์ไว้ในระยะต้นของการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพราะคณิตศาสตร์มีความเป็นนามธรรมที่มีความเป็นสากล เป็นวิชาที่เราไม่อาจรู้ว่าเรากำลังพูดถึงอะไรกันอยู่ และไม่อาจรู้ว่าสิ่งที่พูดถึงนั้นเป็นจริงหรือไม่ ความรู้ทางคณิตศาสตร์ส่วนมากมีประโยชน์อย่างยิ่งในทางปฏิบัติ แต่ตราบใดที่ยังเป็นคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ยังเป็นเกมเหมือนกับการแก้ปัญหาเกมบางชนิด แตกต่างจากเกมตรงที่สามารถเอามาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น